วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สัตว์ประจำชาติอาเซียน

สัตว์ประจำชาติอาเซียน 
สัตว์ประจำชาติของประเทศไทย คือ ช้าง
สัตว์ประจำชาติไทย
ช้าง สัตว์ประจำชาติไทย
ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติไทยมาอย่างยาวนาน โดยในสมัยโบราณบ้านเรามีช้างอยู่มากมายนับแสนตัว ช้างส่วนมากจะถูกใช้ในการสงครามเป็นหลัก ต่อมาเมื่อมีอาวุธสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ ช้างจึงถูกนำไปใช้แรงงานจำพวกชักลากไม้ในป่า และในปัจจุบันช้างเป็นสัตว์อนุรักษ์ที่ถูกใช้ในงานการแสดงและการท่องเที่ยว ประเทศไทยเคยใช้ช้างเป็นส่วนหนึ่งของธงชาติเรียกว่าธงช้างเผือก ก่อนจะถูกเปลี่ยนมาใช้ธงไตรรงค์อย่างในปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ.2460 แต่ยังมีธงหน่วยงานราชการบางแห่งที่ใช้ใช้ช้างเป็นองค์ประกอบ เช่น ธงของราชนาวีไทย เป็นต้น ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมช้างจึงถูกเรียกว่าเป็นสัตว์ประจำชาติไทย
  • สัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา คือ กูปรี
สัตว์ประจำชาติของกัมพูชา
กูปรี สัตว์ประจำชาติของกัมพูชา
กูปรี หรือ โคไพร เป็นสัตว์จำพวกกระทิงหรือวัวป่าชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวโต โคนขาใหญ่ ปลายหางเป็นพู่ขน ปัจจุบันกูปรีอยู่ในสถานะสูญพันธุ์ โดยไม่มีรายงานการพบกูปรีในป่าธรรมชาติมานานหลายสิบปีแล้ว แต่นักอนุรักษ์ส่วนใหญ่เชื่อว่าจะยังสามารถพบกูปรีได้ตามป่าชายแดนไทนและกัมพูชา (แต่ไม่เคยมีรายงานยืนยัน) กูปรีถูกประกาศให้เป็นสัตว์ประจำชาติกัมพูชาโดยสมเด็จเจ้านโรดมสีหนุอดีตกษัตริย์ของกัมพูชา นอกจากกูปรีจะเป็นสัตว์ประจำชาติของกัมพูชาแล้ว ยังพบว่ากูปรียังเป็นส่วนหนึ่งของตราสัญญลักษณ์ของ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์อีกด้วย
  • สัตว์ประจำชาติของประเทศพม่า คือ เสือโคร่ง
สัตว์ประจำชาติของพม่า
เสือโคร่ง สัตว์ประจำชาติของพม่า
เสือโคร่ง (Tiger) นั้นเป็นสัตว์กินเนื้อตะกูลแมวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความดุร้าย ว่องไว ปราดเปรียว สามารถวิ่งได้เร็ว ว่ายน้ำเก่ง ปีนต้นไม้ได้คล่องแคล่ว พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย และพบมากในป่าของประเทศพม่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของประเทศพม่าได้เป็นอย่างดี ดังที่มีผู้กล่าวไว้ว่า เสือคือดัชนีวัดความอุดมสมบูรณ์ของป่า ดังนั้นเสือจึงถูกเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติพม่า
สัตว์ประจำชาติของประเทศลาว คือ ช้าง
สัตว์ประจำชาติไทย
ช้าง สัตว์ประจำชาติลาว
ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติลาวเช่นเดียวกับประเทศไทย ประเทศและประชาชนลาวเองนั้นมีความผูกพันกับช้างมาตั้งแต่อดีตเช่นเดียวกับไทย และที่ตั้งของประเทศ สปป.ลาวในปัจจุบันนั้นในอดีตมีชื่อเรียกว่า อาณาจักรล้านช้าง ใช้ช้างในการทำศึกสงครามและในการใช้แรงงานเช่นเดียวกับประเทศไทยของเราทุกประการ ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมช้างจึงถูกเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติของลาว
  • สัตว์ประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย คือ มังกรโคโมโด
สัตว์ประจำชาติของอินโดนีเชีย
มังกรโคโมโด สัตว์ประจำชาติของอินโดนีเชีย
มังกรโคโมโดเป็นสัตว์โบราณตะกูลตัวเงินตัวทองชนิดหนึ่ง มีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับสัตว์ในตะกูลเดียวกัน พบได้เฉพาะในประเทศอินโดนีเซียบริเวณเกาะโคโมโด รินคา, ฟลอเรส และกิลีโมตาง เป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้ายกว่าเพื่อร่วมสายพันธุ์ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และด้วยความที่สามารถพบเห็นได้เพียงแห่งเดียวในโลกในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น มังกรโคโมโดจึงถูกเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติอินโดนีเซีย
  • สัตว์ประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์ คือ ควาย
สัตว์ประจำชาติของฟิลิปปินส์
ควาย สัตว์ประจำชาติของฟิลิปปินส์
ควาย (Water Buffalo) ในประเทศฟิลิปปินส์นั้น ถูกนำมาใช้แรงงานเหมือนในประเทศเวียดนาม ทั้งแรงงานในด้านการเกษตรกรรมและด้านการชักลากของหนัก ดังนั้นคนฟิลิปปินส์จึงมีความผูกพันกับควายมากเป็นพิเศษ และควายได้ถูกเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์ด้วยเหตุผลนี้เอง ควายเรียกตามภาษาพื้นเมืองหรือภาษาตากาล็อคว่าคาราบาว และชื่อนี้ถูกนำมาใช้เป็นชื่อวงดนตรีชื่อดังของไทยและใช้รูปหัวควายเป็นสัญญลักษญ์ (หัวหน้าวงคือแอ๊ด คาราบาว จบการศึกษาจากประเทศฟิลิปปินส์)
  • สัตว์ประจำชาติของประเทศบรูไน คือ เสือโคร่ง
สัตว์ประจำชาติของพม่า
เสือโคร่ง สัตว์ประจำชาติของบรูไน
เสือโคร่ง สัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่นอกจากจะได้รับการเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติของพม่าแล้ว ยังถูกเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติบรูไนอีกด้วย โดยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศบรูไนซึ่งมีภูเขาและป่าไม้อยู่เป็นจำนวนมาก มีประชากรไม่หน่าแน่น สัตว์ป่าจึงไม่ถูกรบกวน จึงสามารถพบเสือโคร่งสายพันธุ์เอเชียจำนวนมาก และได้ถูกเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศบรูไนในที่สุด
  • สัตว์ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์ คือ สิงโต
สัตว์ประจำชาติของสิงคโปร์
สิงโต สัตว์ประจำชาติของสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์ เดิมมีชื่อว่าเมืองสิงหปุระ (Singapura) ซึ่งหมายถึงเมืองแห่งสิงโต แต่ไม่มีรายงานการพบสิงโตอยู่ตามธรรมชาติในประเทศสิงคโปร์เลย เนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่มีป่าไม้หรือทุ่งหญ้าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสิงโต มีแต่เรื่องเล่าที่ว่ามีผู้เคยพบเห็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายสิงโตอยู่บนดินแดนแห่งนี้เท่านั้น แต่กระนั้นสิงโตก็ยังได้รับเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติสิงคโปร์
  • สัตว์ประจำชาติของประเทศมาเลเซีย คือ เสือโคร่งมลายู
สัตว์ประจำชาติของมาเลเซีย
เสือโคร่งมลายู
เสือโคร่งมาลายูเป็นสัตว์ตะกูลเสือโคร่งที่มีลักษณะเฉพาะ มีขนาดใหญ่และมีความแข็งแรงมาก พบมากทางภาคกลางของประเทศมาเลเซียและสามารถพบได้ในป่าดิบชื้นของประเทศเช่น เพนนิซูล่า กลันตัน ตรังกานู เประ ปะหัง และป่าตอนใต้สุดของไทยที่ติดกับชายแดนมาเลเซีย นอกจากเสือโคร่งมลายูจะเป็นสัตว์ประจำชาติมาเลเซีย ยังปรากฏอยู่ในตราสัญญลักษณ์ของประเทศ และเรานิยมเรียกคนมาเลย์และทีมกีฬาของมาเลเซียว่าทีมเสือเหลืองอีกด้วย ซึ่งคำว่าเสือเหลืงหมายถึงเสือโคร่งมลายูนั่นเอง
  • สัตว์ประจำชาติของประเทศเวียดนาม คือ ควาย
สัตว์ประจำชาติของฟิลิปปินส์
ควาย สัตว์ประจำชาติของเวียดนาม
ประเทศเวียดนามเป็นประเทศที่ปลูกข้าวรายใหญ่ประเทศหนึ่งของโลก และการปลูกข้าวของชาวเวียดนามนั้นยังนิยมใช้ควายในการไถนาอยู่ ดังนั้นวิถีชีวิตของคนเวียดนามจึงผูกพันกับควายมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น โดยที่ควายนั้นจะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในประเทศเวียดนาม (เช่นเดียวกับประเทศไทยในสมัยที่ยังนิยมใช้ควายไถนานั่นเอง) ดังนั้นควายจึงถูกยกขึ้นเป็นสัตว์ประจำชาติเวียดนาม

อาหารประจำชาติอาเซียน

 อาหารประจำชาติอาเซียน 

1.ประเทศไทย

ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong) อาหารขึ้นชื่อที่สุดของประเทศไทยของเรา ซึ่งจริงๆแล้วในประเทศไทยมีอาหารรสชาติเยี่ยมยอดและขึ้นชื่ออยู่มากมาย แต่ถ้าจะให้เลือกอาหารที่ขึ้นชื่อและนักท่องเที่ยวต่างประเทศชอบกินกันมากที่สุด คงหนีไม่พ้นต้มยำกุ้ง ด้วยรสชาติที่เผ็ด เปรี้ยว และจี๊ดจ๊าด รวมกับกุ้งแม่น้ำและเครื่องแกงทั้ง ขา ตะไคร้ ใบมะกรูด ทำให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนเมืองไทยต้องได้ลิ้มลองกันทุกคน และเมื่อได้ลิ้มลองทุกคนก็ต่างพากันติดใจและพร้อมที่กลับมาลิ้มลองอีกครั้ง
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : www.parttime-today.com

2.ประเทศกัมพูชา

อาม็อก (Amok) อาหารยอดนิยมของประเทศกัมพูชา ที่ไม่ว่าใครจะไปเยือนต้องได้ลิ้มลอง อาม็อกดูไปดูมาก็มีหน้าตาคล้ายๆกับห่อหมกบ้านเรา เป็นอาหารที่ทำมาจากเนื้อปลาสดๆที่นำมาลวกกับเครื่องแกงและกะทิ แล้วจึงนำไปนึงให้สุก ซึ่งโดยปกติแล้วปลาจะเป็นอาหารหลักของชาวกัมพูชาเพราะหาได้ง่ายตามแม่น้ำลำคลองที่ยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่ แต่ในบางครั้งก็อาจใช้ไก่แทนได้ในบางที่
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : articles.spokedark.tv

3. ประเทศบรูไน

อัมบูยัต (Ambuyat) เป็นอาหารที่พลาดไม่ได้เมื่อเดินไปเยือน เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาคู มีลักษณะคล้ายๆข้าวต้มหรืโจ๊ก ตัวแป้งจะไม่มีรสชาติจึงต้องทานคู่กับซอสผลไม้ และต้องมีเครื่องเคียงตามชอบ เช่น ผักสด เนื้อย่าง เนื้อทอด ปลาย่าง และที่สำคัญต้องทานเวลาร้อนๆเท่านั้นจึงจะอร่อยและได้รสชาติที่แท้จริง
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : itchyfeetmd.com

4. ประเทศพม่า

หล่าเพ็ด ( Lahpet ) อาหารเพื่อสุขภาพที่พลาดไม่ได้ของประเทศพม่า มีลักษณะคล้ายๆกับเมี่ยงคำของประเทศไทย เป็นอาหารที่ทำจากใบชาด้วยการนำมาหมัก ทานคู่กับกระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่างๆ กุ้งแห้ง งา มะพร้าวคั่ว ซึ่งหล่าเห็ดจะเป็นอาหารที่สำคัญในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญของประเทศพม่า ถ้าขาดไปถือว่าขาดความสมบูรณ์แบบไปเลยก็ว่าได้
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : www.bovorn.com

5. ประเทศฟิลิปปินส์

อโดโบ้ (Adobo) อาหารยอดนิยมที่ต้องลิ้มลองของประเทศฟิลิปปินส์ อโดโบ้ทำจากเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ โดยผ่านการหมักและปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู ชีอิ๊วขาว ใบกระวาน กระเทียม พริกไทยดำ จากนั้นนำไปอบหรือทอด ทานกับข้าวสวยร้อนๆ ถือว่าเป็นอาหารที่น่าสนใจมากถ้าได้มีโอกาสไมปเยือน
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : thaitoasean.blogspot.com

6. ประเทศสิงคโปร์

ลักซา (Laksa) อาหารที่ได้รับความนิยมที่สุดในสิงคโปร์ ซึ่งลักซาจะมีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวต้มยำมี 2 รูปแบบคือ แบบไม่ใส่กะทิ และแบบใส่กะทิ ซึ่งแบบใส่กะทิจะนิยมมากกว่า เพราะรสชาติจะเข้มข้นแบบแกงกะทิบ้านเรา ดูไปดูมาก็อาจจะคล้ายๆกับข้าวซอยทางภาคเหนือ แต่ลักซาจะมีส่วนประกอบเป็น กุ้ง หอยแครง จึงเหมาะกับคนทีชอบทานอาหารทะเล
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : foodofasean.blogspot.com

7. ประเทศอินโดนีเซีย

กาโด กาโด (Gado Gado) อาหารเพื่อสุขภาพยอดนิยมของอินโดนี้เซีย เป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยผักและธัญพืชนานาชนิด ทั้งถั่วชนิดต่างๆ มันฝรั่ง แครอท และยังมีเต้าหู้และไข่ต้มสุกอีกด้วย โดยกาโด กาโดจะรับประทานคู่กับซอสถั่วที่มีลักษณะคล้ายๆกับซอสหมูสะเต๊ะ ซึ่งในซอสจะมีส่วนประกอบของสมุนไพรอยู่ด้วยทำให้ไม่เลี่ยนกะทิเวลารับประทาน
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : chumchonsahapattana.net

8. ประเทศลาว

สลัดหลวงพระบาง (Luang Prabang Salad) สลัดสุดอร่อยของประเทศลาว ที่มีรสชาติลงตัวสามารถรับประทานได้ทั้งชาวตะวันตก และตะวันออก ซึ่งส่วนประกอบก็จะคล้ายกับสลัดถั่วไปคือ แตงกวา มะเขือเทศ ผักกาดหอม แต่จะพิเศษตรงที่จะเพิ่มผักน้ำ ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านที่มีเฉพาะในประเทศลาวเท่านั้น ทานคู่กับไข่ต้มและหมูสับลวกสุก ราดด้วยสลัดน้ำใสพร้อมโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียวและถั่วลิสงคั่ว
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : mmm-yoso.typepad.com

9. ประเทศมาเลเซีย

นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารขึ้นชื่อของประเทศมาเลเซีย เป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยข้าวที่หุงกับกะทิและใบเตย ทานพร้อมเครื่องเคียง 4 อย่าง คือ แตงกวาหั่น ถั่วอบ ไข่ต้มสุก และปลากะตักทอดกรอบ เมื่อก่อนอาหารชนิดนี้นิยมทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบันเป็นอาหารที่ทานกันในทุกมื้อและสามารถหาทานได้ง่าย รวมทั้งภาคต้ของประเทศไทยด้วย
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : articles.spokedark.tv

10. ประเทศเวียดนาม

เปาะเปี๊ยะเวียดนาม (Vietnamese Spring Rolls) อาหารที่ขึ้นชื่อมากเพราะในประเทศไทยเองก็มีขายกันอย่างแพร่หลาย ความอร่อยของเปาะเปี๊ยะเวียดนามจะอยู่ที่แป้งที่ทำมาจากข้าวเจ้า แล้วนำมาห่อกับเนื้อสัตว์ซึ่งอาจจะเป็นไก่ หมู กุ้ง หมูยอ หรือจะนำมารวมกันก็ได้ บวกกับผักสมุนไพรชนิดต่างๆ เช่น ผักกาดหอม สะระแหน่ ทานคู่กับน้ำจิ้มหวานโดยในน้ำจิ้มสามารถเพิ่มแครอทซอย ไชเท้าซอย และถั่วคั่วได้ตามต้องการ
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน

8 อาชีพที่สามารถ ทำงานได้อย่างเสรีใน 10 ประเทศอาเซียน

 8 อาชีพที่สามารถ ทำงานได้อย่างเสรีใน 10 ประเทศอาเซียน

ผลจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ได้กำหนดให้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) ด้าน คุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ หรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี ด้านคุณสมบัติในสาขาอาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย นักวิชาชีพ แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษได้อย่างเสรี ข้อตกลงเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงาน ฝีมือไปทำงานในประเทศกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้อย่างเสรี ได้กำหนดครอบคลุม 8 อาชีพ และก็มีข่าวว่าอาจจะมีการเพิ่มจำนวนอาชีพขึ้นมาอีกในลำดับถัดไป สำหรับ 8 อาชีพที่มีข้อตกลงกันแล้วให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานได้อย่างเสรี ได้แก่

            -  อาชีพวิศวกร  (Engineering Services)
            -  อาชีพพยาบาล  (Nursing Services)
            -  อาชีพสถาปนิก  (Architectural Services)
            -  อาชีพการสารวจ  (Surveying Qualifications)         
            -  อาชีพนักบัญชี  (Accountancy Services)
            -  อาชีพทันตแพทย์  (Dental Practitioners)
            -  อาชีพแพทย์  (Medical Practitioners)
            -  อาชีพการบริการ/การท่องเที่ยว  (Tourism)


            และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีในกลุ่ม 8 อาชีพนั้น มีผลดีต่อไทยไม่น้อย เพราะในภาพรวม สถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาในไทยมีศักยภาพในด้านการผลิตบุคลากรในสายวิชาชีพทั้ง 8 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งทำ ให้ผู้จบ การศึกษาในสายวิชาชีพทั้ง 8 ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกมีตลาดงานที่เปิดกว้างมากขึ้น
            จากเดิมที่ตลาดมีแค่การให้บริการประชาชน 63 ล้านคน เป็นตลาดของประชาชนร่วม 600 ล้านคนใน 10 ประเทศ อาเซียน นอกจากนั้น ประเทศเหล่านี้รวมทั้งไทยอยู่ในทิศทางที่กำลังเติบโตทางด้านเศรษฐกิจทั้ง สิ้น เร็วบ้าง ช้าบ้าง และโดย ภาพรวมคุณภาพของผู้จบวิชาชีพทั้ง 8 ในไทยก็สูงอยู่ในระดับแถวหน้าของประเทศอาเซียน ทำให้โอกาสในการหางานมีสูง
            ในขณะที่คนไทยสามารถไปทำงานในประเทศอาเซียนได้อย่างเสรีนั้น สภาวิชาชีพ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแล มาตรฐานของอาชีพทั้ง 8 นั้น คงต้องมีการดำเนินการอย่างเข้มแข็งรัดกุมเป็นอย่างมาก เพื่อรักษามาตรฐานของผู้จบวิชาชีพ ในสาขาอาชีพนั้นๆ ในไทยให้คงเดิม หรือยกระดับให้สูงขึ้นไปอีกป้องกันมิให้เกิดการอ่อนด้อยในเรื่องมาตรฐานของ องค์กรในการผลิตคน บางแห่งที่อาจใช้โอกาสนี้เพิ่มรายได้ในการเร่งผลิตคนในวิชาชีพเหล่านั้น จำนวนมากเพื่อตอบสนอง ตลาดที่ใหญ่ขึ้น มิฉะนั้นอาจส่งผลกระทบทางลบโดยรวมอีกปัญหาที่อาจะตามมาอีกอย่างคือ บางวิชาชีพไทยเริ่มจะเข้าสู่วิกฤตการขาดแคลนอาจารย์ เช่น ทันตแพทย์ ถ้าแก้ปัญหาไม่ ทันท่วงทีในเวลาอีกสามถึงห้าปีข้างหน้า ไทยจะมีปัญหาเรื่องการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ในสายวิชาชีพทันตแพทย์อย่างแน่นอน      
            ขณะเดียวกัน ก็ต้องระวังดูแลในเรื่องมาตรฐานของคนจากประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่เข้ามาประกอบอาชีพทั้ง 8 อาชีพ ในไทยด้วยเช่นกัน เพราะอาจจะมีผู้มาจากประเทศอื่นที่มาประกอบอาชีพในไทยมีปัญหาความอ่อนด้อยใน เรื่องมาตรฐาน ซึ่งถ้าดูแลไม่รอบคอบรัดกุม อาจก่อเกิดผลกระทบกับสังคมไทยในทางลบ และอาจส่งผลต่อปัญหาการประกอบอาชีพของ คนไทยเอง
            แต่ อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม สังคมไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ จำนวนคนในวัยทำงานกำลังลดลงอย่างมีนัยสำคัญ มีข้อมูลว่าอีกประมาณสิบปี ข้างหน้า สัดส่วนคนในวัยทำงานจะต่ำกว่าประชากรผู้สูงอายุมาก นี่จะทำให้เกิดการขาดแคลน แรงงาน โดยเฉพาะแรงงานฝี มือในกลุ่มอาชีพทั้ง 8 นั้น ผู้ที่จบจากสายวิชาชีพดังกล่าวจะประกันได้ว่าไม่น่าจะมีใครที่ตกงาน เพราะมีตลาดใหญ่มากรองรับทั้งในไทย และในประเทศอาเซียน
            ข้อตกลงเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 8 อาชีพในปี 2015 (2558) แม้ จะเป็นโอกาสทองของคนไทยในสายวิชาชีพดังกล่าว แต่ก็มีจุดที่ต้องระวังอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ทั้งในด้านการที่คนของเราไปทำงานบ้านเขา และการที่คนบ้านเขามาทำงานในบ้านเรา เพราะถ้าการระวังไม่รัดกุม โอกาสทองนั้นอาจพลิกเป็นวิกฤต และมีผลกระทบรุนแรงต่อบางสายวิชาชีพได


สกุลเงินในอาเซียน

สกุลเงินในอาเซียน

ธนบัตร 500 บาท
        AEC (ASEAN Economic Community) หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นคำที่ได้ยินเคียงคู่มากับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 อยู่เสมอ เพราะ AEC นั้นเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของประชาคมอาเซียนนั่นเอง โดยจะมีความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ของทั้ง 10 ประเทศในประชาคมอาเซียน
       
        เพื่อเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ลองมาดูกันหน่อยว่า เพื่อนบ้านแต่ละประเทศนั้นเขามีการใช้เงินสกุลอะไร อัตราแลกเปลี่ยนเท่าไหร่ และหน้าตาของธนบัตรเป็นอย่างไรบ้าง
       
        เริ่มจากที่บ้านเรา ประเทศไทย ใช้สกุลเงิน “บาท” (Thai Baht : THB) โดยเหรียญกษาปณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีทั้งหมด 9 ชนิด คือ เหรียญ 1, 5, 10, 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท โดยเหรียญ 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท เป็นเหรียญที่ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป ส่วนเหรียญ 1, 5 และ 10 สตางค์ ไม่ได้ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป แต่ใช้ภายในธนาคารเท่านั้น ส่วนธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบันและมีการผลิตอย่างต่อเนื่อง มี 5 ชนิด คือ ธนบัตร 20, 50, 100, 500 และ 1,000 บาท

ธนบัตร 10,000 ดอลลาร์บรูไน
                ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม หรือ เนการา บรูไน ดารุสซาลาม ใช้สกุลเงิน “ดอลลาร์บรูไน” (Brunei Dollar : BND) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1 ดอลลาร์บรูไน เท่ากับประมาณ 25 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1 ดอลลาร์, 5 ดอลลาร์, 10 ดอลลาร์, 20 ดอลลาร์, 25 ดอลลาร์, 50 ดอลลาร์, 100 ดอลลาร์, 500 ดอลลาร์, 1,000 ดอลลาร์ และ 10,000 ดอลลาร์
ธนบัตร 1,000 เรียล
                ประเทศกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรกัมพูชา ใช้สกุลเงิน “เรียล” (Cambodian Riel : KHR) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 127 เรียล เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 50 เรียล, 100 เรียล, 200 เรียล, 500 เรียล, 1,000 เรียล, 2,000 เรียล, 5,000 เรียล, 10,000 เรียล, 20,000 เรียล, 50,000 เรียล และ 100,000 เรียล
ธนบัตร 100,000 รูเปียห์
                ประเทศอินโดนีเซีย หรือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ใช้สกุลเงิน “รูเปียห์” (Indonesian Rupiah : IDR) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1,000 รูเปียห์ เท่ากับประมาณ 3 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1,000 รูเปียห์, 2,000 รูเปียห์, 5,000 รูเปียห์, 10,000 รูเปียห์, 20,000 รูเปียห์, 50,000 รูเปียห์ และ 100,000 รูเปียห์
ธนบัตร 50,000 กีบ
                ประเทศลาว หรือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใช้สกุลเงิน “กีบ” (Lao Kip : LAK) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1,000 กีบ เท่ากับประมาณ 4 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 500 กีบ, 1,000 กีบ, 2,000 กีบ, 5,000 กีบ, 10,000 กีบ, 20,000 กีบ และ 50,000 กีบ
ธนบัตร 100 ริงกิต
                ประเทศมาเลเซีย ใช้สกุลเงิน “ริงกิต” (Malaysian Ringgit : MYR) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1 ริงกิต เท่ากับประมาณ 10 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1 ริงกิต, 5 ริงกิต, 10 ริงกิต, 20 ริงกิต, 50 ริงกิต และ 100 ริงกิต
ธนบัตร 1,000 จ๊าด
                ประเทศพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ใช้สกุลเงิน “จ๊าด” (Myanmar Kyat : MMK) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 26 จ๊าด เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 50 ปยา, 1 จ๊าด, 5 จ๊าด, 20 จ๊าด, 50 จ๊าด, 100 จ๊าด, 200 จ๊าด, 500 จ๊าด, 1,000 จ๊าด , 5,000 จ๊าด และ 10,000 จ๊าด
ธนบัตร 1,000 เปโซ
                ประเทศฟิลิปปินส์ หรือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ใช้สกุลเงิน “เปโซ” (Philippine Peso : PHP) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1.40 เปโซ เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 20 เปโซ, 50 เปโซ, 100 เปโซ, 200 เปโซ, 500 เปโซ และ 1,000 เปโซ
ธนบัตร 10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
                ประเทศสิงคโปร์ หรือ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ใช้สกุลเงิน “ดอลลาร์สิงคโปร์” (Singapore Dollar : SGD) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เท่ากับประมาณ 25 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 2 ดอลลาร์, 5 ดอลลาร์, 10 ดอลลาร์, 50 ดอลลาร์, 100 ดอลลาร์, 1,000 ดอลลาร์ และ 10,000 ดอลลาร์
ธนบัตร 100,000 ด่ง
                ประเทศเวียดนาม หรือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ใช้สกุลเงิน “ด่ง” หรือ “ดอง” (Vietnamese Dong : VND) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 652 ด่ง เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1,000 ด่ง 2,000 ด่ง 5,000 ด่ง 10,000 20,000 ด่ง 50,000 ด่ง 100,000 ด่ง 200,000 ด่ง และ 500,000 ด่ง

ประโยชน์อะไรจาก AEC

ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจาก AEC 
(ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)
           ประชาคมอาเซียนที่จะถือกำเนิดในปี 2558 นั้น คนไทยจะได้ประโยชน์อะไร แน่นอนเราคงอยากทราบ แต่ในชั้นนี้ขอจำกัดเฉพาะทางเศรษฐกิจก่อน
              ประการแรก ไทยจะ “มีหน้ามีตาและฐานะ” เด่นขึ้นประชาคมอาเซียนจะทำให้เศรษฐกิจ “ของเรา” มีมูลค่ารวมกัน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีขนาดใหญ่อันดับ 9 ของโลก ยังประโยชน์แก่คนไทยทุกคนที่จะได้ยืนอย่างสง่างาม “ยิ้มสยาม” จะคมชัดขึ้น
              ประการที่สอง การค้าระหว่างไทยกับประเทศอาเซียนจะคล่องและขยายตัวมากขึ้น กำแพงภาษีจะลดลงจนเกือบจะหมดไป เพราะ 10 ตลาดกลายเป็นตลาดเดียว ผู้ผลิตจะส่งสินค้าไปขายในตลาดนี้และขยับขยายธุรกิจของตนง่ายขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็จะมีทางเลือกมากขึ้นราคาสินค้าจะถูกลง
              ประการที่สาม ตลาดของเราจะใหญ่ขึ้น แทนที่จะเป็นตลาดของคน 67 ล้านคน ก็จะกลายเป็นตลาดของคน 590 ล้านคน ซึ่งจะทำให้ไทยกลายเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจ เพราะสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยสามารถส่งออกไปยังอีกเก้าประเทศได้ราวกับส่งไปขายต่างจังหวัด ซึ่งก็จะช่วยให้เราสามารถแข่งขันกับจีนและอินเดียในการดึงดูดการลงทุนได้มากขึ้น
              ประการที่สี่ความเป็นประชาคมจะทำให้มีการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารคมนาคมระหว่างกันเพื่อประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน แต่ก็ยังผลพลอยได้ในแง่การไปมาหาสู่กัน ซึ่งก็จะช่วยให้คนในอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์กัน รู้จักกัน และสนิทแน่นแฟ้นกันมากขึ้น เป็นผลดีต่อสันติสุข ความเข้าใจอันดีและความร่วมมือกันโดยรวม นับเป็นผลทางสร้างสรรค์ในหลายมิติด้วยกัน
              ประการที่ห้า โดยที่ ไทยตั้งอยู่ในจุดกึ่งกลางบนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่อาเซียน ประเทศไทยย่อมได้รับประโยชน์จากปริมาณการคมนาคมขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับจีน (และอินเดีย) มากยิ่งกว่าประเทศอื่นๆ
บริษัทด้านขนส่ง คลังสินค้า ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ จะได้รับประโยชน์อย่างชัดเจน จริงอยู่ ประชาคมอาเซียนจะยังผลทั้งด้านบวกและลบต่อประเทศไทย ขึ้นอยู่กับพวกเราคนไทยจะเตรียมตัวอย่างไร แต่ผลทางบวกนั้นจะชัดเจน เป็นรูปธรรมและจับต้องได้

ธงอาเซียน

ธงอาเซียน 
              ธงอาเซียนเป็นธงพื้นสีน้ำเงิน  มีดวงตราอาเซียนอยู่ตรงกลาง  แสดงถึงเสถียรภาพ  สันติภาพ  ความสามัคคี  และพลวัตของอาเซียน
สีของธงประกอบด้วย  สีน้ำเงิน  สีแดง  สีขาว  และสีเหลือง  ซึ่งเป็นสีหลักในธงชาติของบรรดาประเทศสมาชิกของอาเซียนทั้งหมด
วันอาเซียน
              ให้วันที่  8  สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันอาเซียน
เพลงประจำอาเซียน (ASEAN  Anthem)
              คือ  เพลง  ASEAN  WAY
กฎบัตรอาเซียน
              กฎบัตรอาเซียน  กำหนดให้อาเซียนและประเทศสมาชิกปฏิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้
              1.  เคารพเอกราช  อธิปไตย  ความเสมอภาค  บูรณภาพแห่งดินแดน  และอัตลักษณ์แห่งชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง
              2.  ผูกพันและรับผิดชอบร่วมกันในการเพิ่มพูนสันติภาพ  ความมั่นคง  และความมั่งคั่งของภูมิภาค
              3.  ไม่รุกรานหรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังหรือการกระทำอื่นใดในลักษณะที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
              4.  ระงับข้อพิพาทโดยสันติ
              5.  ไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียน
              6.  เคารพสิทธิของรัฐสมาชิกทุกรัฐในการธำรงประชาชาติของตนโดยปราศจากการแทรกแซง  การบ่อนทำลาย  และการบังคับจากภายนอก
              7.  ปรึกษาหารือที่เพิ่มพูนขึ้นในเรื่องที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียน
              8.  ยึดมั่นต่อหลักนิติธรรม  ธรรมาภิบาล  หลักการประชาธิปไตยและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ
              9.  เคารพเสรีภาพพื้นฐาน  การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  และการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม
              10.  ยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ    รวมถึงกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ  ที่  รัฐสมาชิกอาเซียนยอมรับ
              11.  ละเว้นจากการมีส่วนร่วมในการคุกคามอธิปไตย  บูรณภาพแห่งดินแดนหรือเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐสมาชิกอาเซียน
              12. เคารพในวัฒนธรรม  ภาษา  และศาสนาที่แตกต่างของประชาชนอาเซียน
              13.  มีส่วนร่วมกับอาเซียนในการสร้างความสัมพันธ์กับภายนอกทั้งในด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม  โดยไม่ปิดกั้นและไม่เลือกปฏิบัติ
              14. ยึดมั่นในกฎการค้าพหุภาคีและระบอบของอาเซียน


ธงอาเซียน
              ธงอาเซียนเป็นธงพื้นสีน้ำเงิน  มีดวงตราอาเซียนอยู่ตรงกลาง  แสดงถึงเสถียรภาพ  สันติภาพ  ความสามัคคี  และพลวัตของอาเซียน
สีของธงประกอบด้วย  สีน้ำเงิน  สีแดง  สีขาว  และสีเหลือง  ซึ่งเป็นสีหลักในธงชาติของบรรดาประเทศสมาชิกของอาเซียนทั้งหมด
วันอาเซียน
              ให้วันที่  8  สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันอาเซียน
เพลงประจำอาเซียน (ASEAN  Anthem)
              คือ  เพลง  ASEAN  WAY
กฎบัตรอาเซียน
              กฎบัตรอาเซียน  กำหนดให้อาเซียนและประเทศสมาชิกปฏิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้
              1.  เคารพเอกราช  อธิปไตย  ความเสมอภาค  บูรณภาพแห่งดินแดน  และอัตลักษณ์แห่งชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง
              2.  ผูกพันและรับผิดชอบร่วมกันในการเพิ่มพูนสันติภาพ  ความมั่นคง  และความมั่งคั่งของภูมิภาค
              3.  ไม่รุกรานหรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังหรือการกระทำอื่นใดในลักษณะที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
              4.  ระงับข้อพิพาทโดยสันติ
              5.  ไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียน
              6.  เคารพสิทธิของรัฐสมาชิกทุกรัฐในการธำรงประชาชาติของตนโดยปราศจากการแทรกแซง  การบ่อนทำลาย  และการบังคับจากภายนอก
              7.  ปรึกษาหารือที่เพิ่มพูนขึ้นในเรื่องที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียน
              8.  ยึดมั่นต่อหลักนิติธรรม  ธรรมาภิบาล  หลักการประชาธิปไตยและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ
              9.  เคารพเสรีภาพพื้นฐาน  การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  และการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม
              10.  ยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ    รวมถึงกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ  ที่  รัฐสมาชิกอาเซียนยอมรับ
              11.  ละเว้นจากการมีส่วนร่วมในการคุกคามอธิปไตย  บูรณภาพแห่งดินแดนหรือเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐสมาชิกอาเซียน
              12. เคารพในวัฒนธรรม  ภาษา  และศาสนาที่แตกต่างของประชาชนอาเซียน
              13.  มีส่วนร่วมกับอาเซียนในการสร้างความสัมพันธ์กับภายนอกทั้งในด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม  โดยไม่ปิดกั้นและไม่เลือกปฏิบัติ
              14. ยึดมั่นในกฎการค้าพหุภาคีและระบอบของอาเซียน

สัญลักษณ์อาเซียน


สัญลักษณ์อาเซียน 
              คือ   ดวงตราอาเซียนเป็น
              รูปมัดรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นวงกลม
              สีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาว  และสีน้ำเงิน
              รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้น หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ  ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว
              วงกลม  เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเอกภาพของอาเซียน
              ตัวอักษรคำว่า  asean  สีน้ำเงิน  อยู่ใต้ภาพรวงข้าว  แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง  สันติภพ  เอกภาพ  และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน
              สีเหลือง    :   หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
              สีแดง       :    หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
              สีขาว       :    หมายถึง ความบริสุทธิ์
              สีน้ำเงิน    :    หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

ธงอาเซียน
              ธงอาเซียนเป็นธงพื้นสีน้ำเงิน  มีดวงตราอาเซียนอยู่ตรงกลาง  แสดงถึงเสถียรภาพ  สันติภาพ  ความสามัคคี  และพลวัตของอาเซียน
สีของธงประกอบด้วย  สีน้ำเงิน  สีแดง  สีขาว  และสีเหลือง  ซึ่งเป็นสีหลักในธงชาติของบรรดาประเทศสมาชิกของอาเซียนทั้งหมด
วันอาเซียน
              ให้วันที่  8  สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันอาเซียน
เพลงประจำอาเซียน (ASEAN  Anthem)
              คือ  เพลง  ASEAN  WAY





จุดประสงค์หลักของอาเซียน

จุดประสงค์หลักของอาเซียน
             

 ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
              1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
              2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
              3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
              4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
              5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
              6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
              7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ  และองค์การระหว่างประเทศ

ภาษาอาเซียน
              ภาษาทางการที่ใช้ในการติดต่อประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก  คือ  ภาษาอังกฤษ

คำขวัญของอาเซียน  "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
                                       (One Vision, One Identity, One Community)


อาเซียน

“อาเซียน” สู่การเป็นประชาคมอาเซียน  ในปี 2558 
              


ปัจจุบัน  บริบททางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม   รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก      ทำให้อาเซียนต้องเผชิญ สิ่งท้าทายใหม่ๆ    อาทิ    โรคระบาด    การก่อการร้าย   ยาเสพติด  การค้ามนุษย์  สิ่งแวดล้อม  ภัยพิบัติ  อีกทั้ง  ยังมีความจำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง  และในเวทีระหว่างประเทศ  ผู้นำอาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า  อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น  เข้มแข็ง  และมั่นคงยิ่งขึ้น  จึงได้ประกาศ  “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน  ฉบับที่ 2”  (Declaration  of  ASEAN  Concord  II)  ซึ่งกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย  3  เสาหลัก ได้แก่  
              -  ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community - APSC) มุ่งให้ประเทศกลุ่มสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพและความมั่นคงรอบด้าน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของเหล่าประชาชน
              -  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) มุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้โดย 
              -   ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC) มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีสังคมแบบเอื้ออาร โดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ 6 ด้าน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา
              ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นมาเป็นภายในปี 2558

ประชาคมอาเซียน คือ 
              ประชาคมอาเซียน  (ASEAN  Community)  คือ  การรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง  สามารถสร้างโอกาสและรับมือส่งท้าท้าย  ทั้งด้านการเมืองความมั่นคง  เศรษฐกิจ  และภัยคุกคามรูปแบบใหม่  โดยสมาชิกในชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี  สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น  และสมาชิก  ในชุมชนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

ประเทศในอาเซียน







มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ


ได้แก่ กัมพูชาไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย 

อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,670 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี อาเซียนมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการอาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพ อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558


สมาคมอาสาและปฏิญญากรุงเทพ


         สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย จนเมื่อทั้งสองประเทศฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อาดัม มาลิกแห่งอินโดนีเซีย, นาร์ซิโซ รามอสแห่งฟิลิปปินส์, อับดุล ราซัคแห่งมาเลเซีย, เอส. ราชารัตนัมแห่งสิงคโปร์ และถนัด คอมันตร์แห่งไทย ซึ่งถือว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กร

ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ ความกังวลต่อการแพร่ขยายของคอมมิวนิสต์ร่วมกัน ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกที่เสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากสหภาพยุโรป เพราะกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม